ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

274235468 254791226833276 4829135855321299924 n

 

นอกจากมิจฉาชีพแล้ว ก็ไม่มีใครหรอกที่ขอ OTP จากเรา

ไม่ว่าจะเป็นบัญชีธนาคาร บัญชีโซเชียล ต่างๆ ก็มีแต่ผู้ให้บริการเท่านั้นแหละ ที่ส่ง OTP มาให้เรา และเราจะได้รับก็ต่อเมื่อเราร้องขอไปเท่านั้น

คนร้ายได้ข้อมูลเราเกือบครบแล้วล่ะ เหลือ OTP นี่แหละก็จะถอนเงิน หรือแฮกบัญชีโซเชียลเราได้

รู้เท่าทันและมีสติ จะทำให้ไม่มีใครต้องตกเป็นเหยื่อ

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
"มิจฉาชีพ" ไม่ได้มีแค่ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์"ที่กำลังระบาด
👉แต่ยังแฝงอยู่ในทุกวงการ ไม่เว้นแวดวงการลงทุนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้น, ลงทุนคริปโทฯ และลงทุนธุรกิจต่างๆ ที่มักจะมีข้อเสนอสุดจูงใจชวนให้อยากร่วมลงทุน เข้าเส้นทางรวยฟ้าผ่า รวยเร็วแบบพลิกฝ่ามือกับเขาสักครั้ง
 
 
 
มาอัปเดต "กลโกง" หลอกลงทุนในตลาดหุ้นไทย พร้อมเทคนิคสังเกตการลงทุนลวงโลกที่ช่วยเป็นเกราะป้องกันการตกเป็นเหยื่อรายต่อไป
🔨การหลอกลงทุนมักจะเอาผลตอบแทนสูงในระยะสั้นๆ มาจูงใจ และตั้งแต่โซเชียลมีเดียแพร่หลายในช่วงหลังๆ เหล่ามิจฉาชีพก็สร้างความน่าเชื่อถือผ่านการนำเสนอข้อมูลปลอม
🔎วิธีสังเกตการหลอกลวงลงทุน
❌การแอบอ้างชื่อผู้มีชื่อเสียงเพื่อชักชวนลงทุน , แก๊งมิจฉาชีพใช้ชื่อบริษัท ที่น่าเชื่อถือ และโลโก้แอบอ้างลวงคนร่วมลงทุนผ่านระบบ Line Official เพจ Facebook และช่องทางอื่นๆ, ใช้โลโก้ ก.ล.ต. เปิดเพจเพื่อหลอกให้ประชาชนร่วมลงทุน เป็นต้น
❌การเปิดเพจชวนลงทุนผลตอบแทนสูง เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ทำให้หลายคนตัดสินใจร่วมลงทุน เพราะหวังผลตอบแทนสูงลิบ โฆษณาว่ารวยได้ง่ายๆ หรือลงทุนแล้วจะไม่ต้องลำบากอีกต่อไป โดยสิ่งที่ทำให้หลายคนหลงเชื่อคือ การให้ข้อมูลที่ตอบคำถามที่หลายคนมักตั้งข้อสังเกตก่อนตัดสินใจลงทุน เช่น ทำไมต้องมาเทรดให้ เทรดให้แล้วจะได้เงินจริงหรือไม่ หลายคนเมื่อได้คำตอบและเชื่อก็ตัดสินใจร่วมลงทุน นอกจากนี้ยังมีการใช้โซเชียลมีเดียในการอัปเดตข้อมูลที่อ้างว่าได้กำไรสูง ที่ทำให้คนที่กำลังลังเลอยากลองลงทุนดูสักครั้ง
คนร้ายเปิดเพจที่มักจะใช้โลโก้ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เพื่อสร้างน่าเชื่อถือ หรือให้คนเข้าใจผิด เช่นโลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ก.ล.ต. เป็นต้น
❌ แอบอ้างคนที่มีชื่อเสียงในแวดวงการลงทุน เช่น ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์, อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข พิธีกรด้านการเงินการลงทุน, พอล ภัทรพล ดารานักแสดงและยูทูบเบอร์ด้านการลงทุนและพัฒนาตัวเอง หรือแม้แต่ตัวกระทรวง ก็เคยถูกแอบอ้างชื่อไปหลอกคนอื่นมาลงทุนเช่นกัน
❌❌❌ ทำอินโฟกราฟิกให้ข้อมูล เช่น ชวนลงทุนผลตอบแทนสูง เริ่มต้นได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก หรือทำเอกสาร บลจ. ปลอม แต่ให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวโดย ให้โอนเงินเข้า "บัญชีม้า" ซึ่งเป็นบัญชีที่ถูกซื้อมาจากคนที่รับเปิดบัญชีขาย เงินจะถูกโอนต่อไปเรื่อยๆ หลายบัญชี บางครั้งปลายทางคือ ต่างประเทศ หรือไปเปลี่ยเป็นคริปโทฯ ซึ่งสืบสาวได้ยาก ยากต่อการจับกุม หรือส่วนใหญ่จับได้แต่คนรับจ้างเปิดบัญชีที่เป็นด่านแรกเท่านั้น❌❌❌
การลงทุนหุ้นปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยการลงทุนหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ต้องใช้เงินในการลงทุน ควรจะลงทุนผ่านบริษัทที่ ก.ล.ต. กำกับและตรวจสอบได้ และมีตัวตนจริง
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชัน "SEC Check First" ที่จะรวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. รวมถึงค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตเพื่อช่วยในการตัดสินใจลงทุน (หลักทรัพย์/สินทรัพย์ดิจิทัล)
✊✊✊✊
วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพหลอกลงทุน
- ศึกษาอย่างลึกซึ้งก่อนลงทุน
"ไม่ใช่ศึกษาแบบผิวเผิน แต่ต้องศึกษาแบบลึกซึ้ง และต้องดูว่าแต่ละผลิตภัณฑ์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
#ไม่ว่าจะการันตีผลตอบแทนแบบไหนคนในวงการจะรู้ว่าเราการันตีผลตอบแทนกันไม่ได้การลงทุนมีความเสี่ยงด้วยตัวของมันเองโดยเฉพาะลงทุน 3,000 ได้ 30,000 #ทำไมเขาถึงไม่ใช้เงินของเขาทำเอง #ทำไมต้องมาให้เรา
- ติดต่อกับ บลจ. ที่มีใบอนุญาต จาก ก.ล.ต. โดยตรงด้วยตัวเอง นอกนั้นเชื่อไม่ได้
คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพลาดกับมิจฉาชีพที่โทรมาจากข้างนอก แต่พลาดกับคนรู้จักที่มาแนะนำ ทั้งคนที่ไม่รู้ตัวว่าถูกหลอก และคนที่ตั้งใจมาหลอกเพราะได้ค่านายหน้า ดังนั้นต้องศึกษาด้วยตัวเองให้เข้าใจและใช้วิจารณญาณก่อนตัดสินใจลงทุน จะได้ไม่เสียใจในภายหลังนั่นเอง
-------------------------------------------------------
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
ปรึกษา เบาะแส สายด่วน☎️ 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
-------------------------------------------------------

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
ทุกวันนี้มิจฉาชีพมักจะสุ่มเบอร์โทรศัพท์เพื่อหาเหยื่อ ก่อนที่จะมีการพูดคุย โน้มน้าว รวมไปถึงข่มขู่ให้เหยื่อตกใจจนเกิดการหลงเชื่อ และโอนเงินให้มิจฉาชีพในที่สุด
🔔🔔 แต่ปัจจุบันก็มีประชาชนส่วนใหญ่ที่รู้ทันมุกของพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ แล้วประชาชนที่เขายังไม่รู้ทันล่ะ!!! เขาต้องเจอคำกล่าวอ้าง ข้อข้าง หรือคำข่มขู่ อะไรบ้าง???
speak
 
วันนี้เราจึงยกเอาคำพูดที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อมาบอกกล่าวให้ทุกคนได้รู้ตัว รู้ทัน เพื่อให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของพวกมัน มีดังนี้
1. บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงิน จะอ้างว่าบัญชีเงินฝากของเหยื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย หลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีที่เตรียมไว้ เพื่อทำการตรวจสอบ
2. บัญชีเงินฝากถูกอายัด/หนี้บัตรเครดิต จะขออายัดบัญชีเงินฝากของเหยื่ออ้างว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต หลอกให้เหยื่อตกใจรีบโอนเงินมาให้
3. โชคดีได้รับเงินรางวัล จะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทต่างๆ แจ้งเหยื่อว่าได้รับเงินรางวัลหรือของรางวัลที่มีมูลค่าสูง หลอกให้เหยื่อโอนเงินค่าภาษีมาให้ก่อนรับรางวัล
4. ข้อมูลส่วนตัวหาย จะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินว่าทำข้อมูลของเหยื่อสูญหาย เพื่อขอข้อมูลของเหยื่อใหม่ จากนั้นจะนำไปปลอมแปลงหรือใช้บริการทางการเงินแทน
5. โอนเงินผิด จะติดต่อไปยังสถาบันการเงินของเหยื่อ เพื่อขอสินเชื่อแทนเหยื่อ เมื่อสถาบันการเงินอนุมัติและโอนเงินเข้าบัญชีให้เหยื่อแล้วมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาเหยื่อ อ้างว่าโอนเงินผิดบัญชี หลอกให้เหยื่อโอนเงินดังกล่าวคืนให้
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
สงสัยเกรงจะตกเป็น เหยื่อ สอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
ติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ www.pctpr.police.go.th
©2024 ตำรวจภูธรจังหวัดพังงา

Search