ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
🛃ตรวจสอบ ก่อนสแกน QR Codeทุกครั้ง
 
Qr scan
 
การสแกน QRCode เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เงินในบัญชีถูกโอนไปให้กับคนร้ายได้ ในทันที
แต่คนร้ายจะสามารถทำได้ ถ้าเราทำสิ่งเหล่านี้ไปด้วย
1️⃣QR Code ดังกล่าว นำไปสู่หน้าเว็บไซต์ธนาคารปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูลชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านในการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet Banking) ทำให้คนร้ายสามารถทำธุรกรรมทุกอย่างโดยเฉพาะการถอนเงิน โอนเงินจากบัญชีเหยื่อได้
2️⃣QR Code ดังกล่าว เป็น QR Code ในการรับโอนเงินเข้าบัญชีคนร้าย แต่คนร้ายจะหลอกว่าให้เหยื่อสแกนเพื่อจะทำการโอนเงินค่าสินค้าหรือบริการคืนให้กับเหยื่อ
3️⃣QR Code ดังกล่าว นำไปสู่หน้าเว็บไซต์เพื่อทำการดาวน์โหลดมัลแวร์ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ หากเหยื่อไม่ดูให้ดีแล้วดาวน์โหลดไฟล์มาติดตั้งในเครื่องก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูล บัญชีผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่านได้
🤔จะแสกนอะไร ตรวจสอบดีๆนะคะ อย่าหาว่า เรา ไม่เตือน😻
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 
301183362 723140802268969 8227071044854524535 n 300956436 723140812268968 5620418176578590365 n
18 กลโกงของคนร้าย ที่ใช้หลอกเหยื่อในโลกออนไลน์"
คณะทำงานไซเบอร์วัคซีน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำ ชุดข้อมูล 18 กลโกง ในรูปแบบออนไลน์ 📺
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย 👮‍♂ และรับรู้ถึงแผนการ วิธีการ วิธีป้องกัน และ วิธีตรวจสอบ เพื่อรับมือกับคนร้ายในโลกออนไลน์ได้ทันที
เปรียบเสมือนการนำ "ไซเบอร์วัคซีน"💊 ส่งตรงไปถึงมือถือของท่านเลย
📋วิธีใช้งานชุดข้อมูล
📲Scan Qr Code เพื่อเข้าใช้งาน >
หรือ เข้าใช้งานได้ที่ 🖥http://pctpr.police.go.th/learn
1.เมื่อเข้าสู่หน้าแรก จะแสดงข้อมูลชุด 18 กลโกงทั้งหมด🗂
2.หากต้องการเลือกดูแต่ละกลโกง ให้เลือก "หัวข้อกลโกง" ที่ต้องการ📨
3.คำอธิบาย กลโกงจะปรากฏขึ้นมา พร้อม คัดเลือก วีดีโอ และ อินโฟ ประกอบคำอธิบายให้ท่าน ศึกษา🎓
4.เพียงกด "คัดลอกลิงค์" ก็นำไปแชร์ต่อได้เลย📩
5.สามารถกด "เข้าสู่ระบบ" เพื่อเข้าใช้งานระบบ ไซเบอร์วัคซีน และ ประเมินภูมิคุ้มกันตนเองได้🖍
โดย
ชุดข้อมูลประกอบไปด้วย 3 ส่วน
1.เมนูแยกประเภท 18 กลโกง📕
2.คำอธิบาย "เรื่องที่พบบ่อย" ,"วิธีการของคนร้าย" , "วิธีการสังเกต" , "วิธีการป้องกัน" , "วิธีการตรวจสอบ"📗
3.ชุด วีดีโอ และ กราฟฟิก อินโฟ ของ 18 กลโกง📙
อย่าลืมเข้าไปใช้งานกันนะครับ
หากเห็นว่ามีประโยชน์ ได้โปรดกดติดตาม กดไลก์ กดแชร์ เพื่อจะได้ไม่พลาดการอัพเดตข้อมูลความรู้ในการป้องกันตัวเองใหม่ๆ ต่อไปครับ
------------------------
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
ปรึกษา เบาะแส สายด่วน☎️ 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน pct.police.go.th
ดูสื่อความรู้ป้องกันตัวเอง pctpr.police.go.th

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
"พัสดุตกค้าง" ก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่อ ช่วยแชร์เพื่อ ให้รู้ทั่วถึงกันค่ะ
คนร้าย แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนจากไปรษณีย์ไทยแจ้งไปยังผู้ใช้บริการ ว่า มีพัสดุตกค้างและให้กด 9 เพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติม โดยให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ และเลขที่บัตรประชาชน พร้อมให้โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร(บัญชีม้า)เพื่อนำพัสดุออกจากที่ทำการไปรษณีย์
✅ ทางบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า"ไปรษณีย์ไทย"จะไม่โทรแจ้งและมีระบบให้กด 9 และไม่มีนโยบายการเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีธนาคารเพื่อนำ "พัสดุตกค้าง" ออกจากที่ทำการไปรษณีย์ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
👉สำหรับมาตรการการรับสิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์นั้น หากพบว่าผู้รับปลายทางไม่อยู่บ้าน หรือสิ่งของที่ฝากส่งไม่สามารถนำจ่ายได้ เจ้าหน้าที่นำจ่ายจะออก
“ใบแจ้งให้มารับสิ่งของ” ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งรองรับสำหรับผู้ใช้บริการที่ฝากส่งสิ่งของในไปรษณียภัณฑ์แบบมีหลักฐานเท่านั้น เช่น บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ (EMS) บริการส่งด่วนทั่วโลก (EMS World) บริการไปรษณีย์ลงทะเบียน เป็นต้น โดยเอกสารดังกล่าวจะระบุรายละเอียดการขอรับไปรษณียภัณฑ์ดังนี้ สาเหตุที่ "ไปรษณีย์ไทย" ไม่สามารถนำจ่าย "พัสดุตกค้าง" ได้ หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก ประเภทของไปรษณียภัณฑ์ วัน - เวลาที่เจ้าหน้าที่ไปนำจ่าย และวัน - เวลาที่ประชาชนสามารถไปติดต่อขอรับได้ ณ ที่ทำการฯ อย่างชัดเจน
✅หากผู้ใช้บริการมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ
-------------------------------------
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
ปรึกษา เบาะแส สายด่วน☎️ 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
-------------------------------------

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
“ 5 ชอบ 5 พฤติกรรมเสี่ยง ” ที่อาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์
 
👉1. ชอบเสี่ยงโชค เมื่อได้เห็นผลตอบแทนที่ล่อตาล่อใจ ที่คนร้ายปั้นแต่งขึ้นมาหลอกล่อด้วยอุบายต่างๆ นานา โดยเน้นว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูง เช่น การชวนเล่นแชร์ ชวนลงทุนในธุรกิจ สันนิษฐานได้เลยว่าท่านอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเข้าแล้ว
👉2. ชอบช่วยเหลือ บ่อยครั้งที่เราเห็นคนที่ยากลำบากกว่าเรา เราก็อยากจะช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์ แต่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพ อาจจะแฝงตัวเข้ามาด้วยการปลอมข้อมูล หรือใส่เลขบัญชีรับบริจาคของตนเองแฝงไปกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ
👉3. ชอบสินค้าราคาถูก โดยคนร้ายมักจะประกาศขายสินค้าที่ดูดี มีคุณภาพ ราคาถูก จูงใจให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปให้ บางรายได้รับสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ประกาศขายบ้าง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นก็ไม่ได้รับสินค้าเลย
👉4. ชอบคุยกับเพื่อนใหม่ การเข้าสังคมไม่ว่าจะเป็นในชีวิตจริงหรือโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนในชาติเดียวกันหรือเป็นเพื่อนต่างชาติ มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของแก๊งโรแมนซ์สแกมได้ง่าย
👉5. ชอบคิดว่าไม่เป็นอะไร “ ลองดูหน่อยก็ไม่น่าเสียหายอะไร ” แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่คิดเช่นนี้ ส่วนมากจะเป็นผู้เสียหายกลุ่มแรกๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ อาจจะชอบคลิกลิงก์แปลกๆ ที่ถูกส่งมาทาง Facebook , Line , SMS หรือ E-mail
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
สงสัย เกรงจะตกเป็นเหยื่อ สอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
ติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ www.pctpr.police.go.th
©2024 ตำรวจภูธรจังหวัดพังงา

Search